ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนcovid 19 เช็กสัญญาณให้ดี อาการแบบนี้รี  (อ่าน 31 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 236
    • ดูรายละเอียด
หมอประจำบ้าน: ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนcovid 19 เช็กสัญญาณให้ดี อาการแบบนี้รีบไปหาหมอ !

มาทำความรู้จักภาวะลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษ ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิดที่หลายคนยังคงกังวล จริง ๆ แล้วภาวะนี้คืออะไร เกิดจากสาเหตุไหนบ้าง อาการเป็นอย่างไร แล้วมีวิธีป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่เราควรทำไหม ทุกคำตอบอยู่ตรงนี้แล้ว


ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 คืออะไร

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือ VITT (Vaccine-Induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia) เกิดจากการที่วัคซีนทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาผิดปกติ จนไปกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด ส่งผลให้เกล็ดเลือดต่ำ และก่อให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

อย่างไรก็ตาม ภาวะ VITT เป็นการเกิดลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษที่แตกต่างจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง โดย VITT จะเกิดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ส่วนภาวะลิ่มเลือดอุดตันทั่วไปจะไม่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมด้วย อีกทั้งยังมีความแตกต่างทางปัจจัยอื่น ๆ เช่น จุดที่เกิดลิ่มเลือด ปัจจัยเสี่ยง อาการแสดงบางอย่าง รวมไปถึงการรักษา ดังข้อมูลที่ นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า อายุรแพทย์ระบบประสาท สรุปไว้

จากรายงานทางการแพทย์พบว่า กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด Viral Vector หรือ mRNA คือ กลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 55 ปี โดยเพศหญิงจะเสี่ยงมากกว่าเพศชาย และชนชาติที่เสี่ยงมากคือ ชาวตะวันตก โดยเฉพาะกลุ่มคนสแกนดิเนเวีย แต่ในชาวเอเชียจะเกิดภาวะนี้ได้น้อยกว่า
ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 โอกาสเกิดมีมากแค่ไหน

อุบัติการณ์ของภาวะ VITT ในต่างประเทศอยู่ที่ 1:125,000-1:1,000,000 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ซึ่งถือว่าน้อยมาก ขณะที่ในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุว่า พบภาวะดังกล่าวเพียง 1 ใน 5 ล้านคนเท่านั้น น้อยกว่าที่พบในต่างประเทศ 5-40 เท่า แม้จะเป็นภาวะที่อาจเกิดอาการรุนแรง แต่หากได้รับการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วก็จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนถือว่ามีโอกาสเกิดอยู่บ้างแต่ก็น้อยมาก ยิ่งเมื่อเทียบอัตราการเกิดลิ่มเลือดอุดตันของผู้ป่วยที่ติดโควิด 19 ก็ต้องบอกว่าติดโควิดแล้วยังเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดได้มากกว่าหลายเท่า เพราะไวรัสจะทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกายเยอะมาก ๆ และทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็นลิ่มเลือดอุดตันในปอด ลิ่มเลือดอุดตันหัวใจ ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา โดยถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะอยู่ราว ๆ 2-5% หรือ 100 คน เป็น 5 คน ซึ่งถือว่าเยอะกว่าการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนเป็นพันเท่าเลยทีเดียว

โอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิดมีน้อยมาก ไม่เกิน 10 เคส ต่อการฉีดล้านครั้ง อาการมักเกิดช่วง 4-30 วันหลังฉีด และมักเกิดหลังฉีดวัคซีนเข็มแรก สำหรับโอกาสเกิดหลังฉีดวัคซีนเข็มสองนั้น มีน้อยกว่าเข็มแรก 10 เท่า

อาการลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด เป็นยังไง

         ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน VITT จะแสดงอาการหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ประมาณ 4-30 วัน โดยสามารถเช็กสัญญาณเตือนได้จากอาการเหล่านี้

         - ปวดศีรษะรุนแรง กรณีลิ่มเลือดอุดตันในสมอง

         - แขน-ขาชา อ่อนแรง

         - หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด

         - ชัก หรือหมดสติ

         - ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน

         - เหนื่อยง่าย หายใจลำบากหรือติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก กรณีลิ่มเลือดอุดตันในปอด

         - ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ คลื่นไส้ อาเจียน กรณีลิ่มเลือดอุดตันในช่องท้อง

         - ปวดหลังรุนแรง

         - ขาบวมแดง หรือซีด เย็น กรณีลิ่มเลือดอุดตันที่ขา

         - มีจุดเลือดออก รอยจ้ำช้ำที่ผิวหนัง (พบได้น้อย)

หากมีอาการผิดปกติควรทำอย่างไร

          หากมีอาการที่เป็นสัญญาณภาวะลิ่มเลือดอุดตันภายใน 4-30 วัน หลังฉีดวัคซีนโควิด ร่วมกับมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษา

การตรวจวินิจฉัยภาวะ VITT

          แพทย์จะทำ CT Scan ตามอวัยวะที่ผู้ป่วยมีอาการ รวมทั้งตรวจปริมาณเกล็ดเลือด โดยหากพบว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (น้อยกว่า 150,000 /uL) มีปริมาณ D-dimer สูงผิดปกติ และ/หรือพบหลอดเลือดอุดตัน จะส่งตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Anti PF4/heparin antibody และ Platelet activation assay ยืนยันต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการตรวจภาวะหลอดเลือดอุดตันภายหลังการฉีดวัคซีน (VITT) อยู่หลายแห่ง

          ทั้งนี้ กรณีมีภาวะ VITT สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะสนับสนุนค่าตรวจรวมทั้งค่ารักษาให้
ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนโควิด รักษาอย่างไร
ลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีน

          การรักษาภาวะ VITT จะคล้ายคลึงกับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการลิ่มเลือดอุดตัน โดยรักษาด้วยการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และอาจต้องให้ยา Intravenous Immunoglobulin (IVIG) เพิ่มเติม เพื่อยับยั้งภูมิคุ้มกันที่มากเกินไปของผู้ป่วย ทั้งนี้ ยังต้องเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจตามมาเนื่องจากภาวะเกล็ดเลือดต่ำในผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย

ลิ่มเลือดอุดตัน ป้องกันและลดความเสี่ยงได้อย่างไร

          เราสามารถลดความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนได้ด้วยวิธีป้องกันตามนี้

          1. ดื่มน้ำมาก ๆ ทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีน เพื่อลดความหนืดของเลือด

          2. หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟก็ดี เพราะกาแฟจะกระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย และอาจทำให้เลือดข้นหนืดได้ แต่ถ้าจะดื่มกาแฟก็ควรดื่มน้ำให้เยอะกว่าเดิม

          3. หากมีความกังวลอาจพิจารณาหยุดยาที่เพิ่มความเสี่ยง เช่น ยาคุมกำเนิด ยาฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ทำให้เลือดหนืดขึ้น โดยอาจจะหยุดยาประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งก่อนและหลังไปฉีดวัคซีน หรือปรึกษาแพทย์ประจำตัว

          4. คนที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคที่ทำให้เส้นเลือดอักเสบได้ง่าย ควรควบคุมโรคให้สงบก่อน และควรปรึกษาแพทย์ที่รักษาว่าฉีดได้ไหม

          5. คนที่เพิ่งผ่าตัดมาและไม่สามารถเดินหรือขยับตัวได้สะดวก ควรยืดเวลาการฉีดวัคซีนออกไปก่อนจนกว่าจะกลับมาขยับตัวได้ตามปกติ โดยให้คนรอบ ๆ ตัวไปฉีดวัคซีนโควิดก่อน

          อย่างไรก็ตาม ภาวะลิ่มเลือดอุดตันไม่ได้เกิดกับทุกคนที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 อีกทั้งหากพบอาการผิดปกติและรีบไปพบแพทย์ ภาวะนี้ก็สามารถรักษาได้ แต่ถ้าเราดันติดโควิดขึ้นมา โอกาสเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันจะมากกว่าหลายเท่า ดังนั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่าฉีดวัคซีนแล้วคุ้มมากกว่าความเสี่ยงก็ควรฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด เพราะวัคซีนจะช่วยให้อาการโควิดเบาลงได้

 

Tage: ลงประกาศฟรี ติดอันดับ google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ลงประกาศขายที่ดินฟรี ลงประกาศขายคอนโดฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google